สำนวนไทยวันนี้

ชี้นกบนปลายไม้
หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว มันเป็นไปได้ยาก

เรียน English วันละนิด

Get in the car.
ขึ้นรถเลย

ตารางเรียน ตารางสอน




เข้าสู่ระบบ


 

มี 23 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

361694
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
187
1839
3545
354385
56198
11556
361694

IP ของคุณ: 18.188.107.57
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2024 เวลา 07:23

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

กลองสะบัดชัย

           กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการตีกลองของชาวล้านนา ในสมัยโบราณจะตีกลองสะบัดชัยเพื่อประกาศความเกรียงไกรของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับชัยชนะจากข้าศึก หรือเมื่อมีการประลองฝีมือของขุนศึกและทหาร เพื่อให้เกิดความฮึกเหิมในการต่อสู้ และใช้ในขบวนแห่พิธีทางศาสนา เช่น งานปอยหลวงของชาวล้านนา ซึ่งยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบันผู้ที่ตีกลองสะบัดชัยจะตีด้วยท่าทางคล่องแคล่วว่องไวโลดโผนและสนุกสนาน
           ลักษณะกลองสะบัดชัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นกลองที่ย่อมาจากวัด (กลองปูจา) เมื่อย่อขนาดให้สั้นลงโดยหน้ากว้างยังคงใกล้เคียงกับของเดิมลูกตุบก็ยังคงอยู่ ลักษณะการหุ้มหน้ากลองเหมือนของเดิมทุกประการ ตัวกลองติดคานหามสำหรับคนสองคนหามได้ ต่อมาไม่นิยมใช้ลูกตุบจึงตัดออกเหลือแต่กลองใหญ่ ลักษณะการหุ้มเปลี่ยนจากการตรึงด้วยหมุดมาใช้สายเร่งเสียงเพราะสะดวกต่อการตรึงหน้ากลองให้ตึงหรือหย่อนเพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ ข้างกลองประดับด้วยไม้แกะสลักซึ่งนิยมแกะเป็นรูปพญานาคและมีผ้าหุ้มตัวกลองให้ดูสวยงามอีกด้วย
           การตีกลองสะบัดชัยที่ถูกต้องตามแบบดั้งเดิมนั้นในปัจจุบันนี้หาชมได้ยาก แม้กระทั่งลักษณะของกลองสะบัดชัยที่นิยมในปัจจุบัน ก็ลดขนาดลงเหลือแต่กลองใบใหญ่โดยการตัดลูกตุบออกเพิ่มลายพญานาคยึดระหว่างคานหามให้เกิดความสวยงาม รูปแบบของการตีกลองสะบัดชัยนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของเดิมไว้ หากไม่มีการพัฒนารูปแบบของการตีกลองสะบัดชัยอาจไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ของภาคเหนือจะมีรูปแบบและลีลาที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย แต่ยังคงเอกลักษณ์ของล้านนาดั้งเดิมอยู่ สำหรับในอำเภอทุ่งเสลี่ยมเดิมทียังไม่มีกลองสะบัดชัยอย่างที่เห็นในปัจจุบันมีเพียงกลองปูจาที่แขวนอยู่ตามหอกลองวัดต่าง ๆ เช่น วัดเหมืองนา วัดทุ่งเสลี่ยม
           กลองสะบัดชัยในอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้เริ่มมาจากการตีกลองม้งจึ่งเจ้และการฟ้อนเจิงซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของอำเภอทุ่งเสลี่ยมโดยมีนายถา แก้วจาเครือ และนายกิ่ง สายนวล พร้อมด้วยชาวบ้านจากหมู่ที่ 10 บ้านแม่ทุเลาพัฒนา ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มการตีกลองสะบัดชัย การตีกลองสะบัดชัยของหมู่ 10 ได้แพร่หลายออกไปมีการแสดงในงานสำคัญ ๆ ของจังหวัด เช่น งานลอยกระทงเผาเทียนไฟจังหวัดสุโขทัย และงานประจำปีของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ปัจจุบันเริ่มมีสถานศึกษาในอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้ให้ความสนใจที่จะสืบทอดการตีกลองสะบัดชัย โดยบรรจุอยู่ในหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกในท้องถิ่นมาให้ความรู้และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดภาคเหนือ
           โรงเรียนบ้านธารชะอม เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย   โดยเน้นให้นักเรียนมีคุณภาพ “เก่ง  ดี  มีความสุข”  ซึ่งนอกจากจะพัฒนาศักยภาพทางวิชาการแล้ว  ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนมีสุนทรียภาพทางศิลปะ  ดนตรีและกีฬา  ควบคู่ไปกับพัฒนาในด้านอื่น  โดยเฉพาะคุณธรรม  จริยธรรม  และการพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
           กลองสะบัดชัย  ถือเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านแด่ดั้งเดิมของชาวล้านนา  ซึ่งในสมัยก่อนนั้นใช้ตีเพื่อให้เกิดความฮึกเหิมในการศึก  และตีฉลองชัยชนะในการศึก  แต่ในปัจจุบันไม่มีศึกสงครามแล้ว  กลองสะบัดชัยจึงสืบทอดต่อกันมาในลักษณะของการแสดง  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มจะหาชมได้ยาก  จะหาชมได้เฉพาะจังหวัดในเขตภาคเหนือเท่านั้น     จังหวัดสุโขทัย มีเพียงอำเภอเดียวที่มีวัฒนธรรมแบบล้านนา คือ อำเภอทุ่งเสลี่ยม   การสืบทอดกลองสะบัดชัยในอำเภอทุ่งเสลี่ยมไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก เพราะเยาวชนรุ่นใหม่หันไปสนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ กันมาก  หากไม่รีบอนุรักษ์เอาไว้  กลองสะบัดชัยอาจไม่มีให้เห็นอีก
           โรงเรียนบ้านธารชะอมได้เริ่มสืบสานประเพณีด้านกลองสะบัดชัย  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544  เรื่อยมา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก  และได้ใช้ประกอบการเรียนการสอนเรื่อยมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนได้ส่งเสริมและนำกิจกรรมกลองสะบัดชัย ไปร่วมงานต่าง ๆ ของอำเภอ ของจังหวัดและจังหวัดอื่น ๆ จนเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงทุกวันนี้

 

Slot Gacor
WordPress CMS Checker